เวลา

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วิทยาลัยครูแห่งแรกของประเทศไทย


การกำเนิดวิทยาลัยครูแห่งแรก  เกิดขึ้นในรัฐสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาการศึกษาของชาติให้ชาติมีความมั่นคง  ซึ่งการส่งเสริมการศึกษาให้กับคนในชาติที่ดีย่อมจะนำพาประเทศให้เจริญก้าวหน้าสืบไป    เพื่อสนองต่อการขยายตัวของโรงเรียน  ก่อตั้ง  “โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์”  เพื่อสร้างบุคลากรทางการศึกษา  สังกัดกระทรวงธรรมการ  โดยเปิดทำการสอนครั้งแรก  เมื่อวันที่ 12  ตุลาคม  พ.ศ. 2435  โดยมีมิสเตอร์กรีนรอด  เป็นอาจารย์ใหญ่คนแรก   โดยโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์  มีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งเพื่อผลิตครูสำหรับรองรับการขยายตัวของระบบการศึกษา 
โดยสถานที่ตั้งครั้งแรกอยู่ในบริเวณโรงเลี้ยงเด็ก ตำบลสวนมะลิ ถนนบำรุงเมือง  และมีการย้ายสถานที่ไปหลายแห่ง
ต่อมาในรัฐสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ได้เปลี่ยนแปลงเป็นแผนกครุศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และเมื่อสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เป็นสถาบันอุดมศึกษา  โรงเรียนข้าราชการพลเรือนต่าง ๆ  ได้รวมสังกัดกระทรวงธรรมการ  จึงทำให้โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์  ย้ายไปสังกัดกรมศึกษาธิการ  วันที่ 15  พฤษภาคม  พ.ศ. 2469  โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์  ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู  และย้ายสถานที่ตั้งไปยัง ที่พระราชวังสนามจันทร์  ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระนคร  และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น  “โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร  และพัฒนาหลักสูตรขึ้นเรื่อยๆ และย้ายสถานที่ตั้งอีกครั้งมาเช่าที่ดินวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร

ปี  1 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 กระทรวงศึกษาธิการได้ยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร ขึ้นเป็น "วิทยาลัยครูพระนคร"


วิทยาลัยครูแห่งแรกของไทย  จึงเป็น  “วิทยาลัยครูพระนคร”  ปัจจุบัน  คือ   “มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น